ท้าวทองกีบม้า คนไทยในสมัยโบราณยังไม่รู้จักคำว่าขนมซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าวแต่เป็นของกินหลังอาหารหรือกินเล่น มีรสชาติหวานมันอร่อยถูกปากเพราะปรุงจากแป้งไข่กะทิและน้ำตาลเชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยมกัอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า"ท้าวทองกีบม้า"ซึ่งเพี้ยนมาจากดอญ่ามารกีมาร์ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่ามารี กีมาร์ เดปนา ส่วนคำว่า"ดอญ่า"เป็นภาษาสเปนเทียบกับภาษาไทยได้ว่า"คุณหญิง"มารีกีมาร์แต่งงานกับคอนสแตนตินฟอลคอนชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจนเป็นที่โปรดปรานได้รับแต่งตั้งเป็นถึงอัครมหาเสนาบดีฟอลคอนยกย่องเธอในฐานะภรรยาเอกหลังการแต่งงานฟอลคอนก็ได้เป็นผู้ควบุคมการก่อสร้างป้อมแบบยุโรปในกรุงศรีอยุธยาและบางกอกต่อมาเมื่อออกญาโกษาธิบดี(เหล็ก)ถึงแก่กรรมออกญาพระเสด็จซึ่งขึ้นมาดำรงตำแหน่งออกญาโกษาธิบดีแทนก็เลื่อนตำแหน่งให้เขาขึ้นมาทำหน้าที่ผู้ช่วยและยังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระฤทธิ์กำแหงตำแหน่งนี้ทำให้ฟอลคอนร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพราะประกอบการค้าส่วนตัวควบคู่ไปกับราชการด้วยท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรูหราอย่างหาผู้ใดในกรุงศรีอยุธยาเปรียบเทียบไม่ได้การเป็นภรรยาของขุนนางที่มีตำแหน่งสูงทั้งยังต้องติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศเสมอ ทำให้ท้าวทองกีบม้าต้องพบปะเจอะเจอแขกที่เดินทางมาในฐานะราชอาคันตุกะและแขกในหน้าที่ราชการของสามี ปีที่ ๖ ของการเข้ารับราชการฟอลคอนได้รับตำแหน่งหน้าที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดโดยได้เป็นสมุหนายกอัครมหาเสนาบดีแต่ด้วยความคิดมิชอบฟอลคอลที่ติดต่อกับฝรั่งเศสเป็นการลับให้ยึดสยามเป็นอาณานิคมจึงถูกกลุ่มของพระเพทราชาและออกหลวงสรศักดิ์จับในข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และ ถูกประหารชีวิต เล่ากันว่าก่อนขึ้นตะแลงแกงฟอลคอนได้รับอนุญาตให้ไปอำลาลูกเมียที่บ้านแต่ด้วยความเกลียดชังท้าวทองกีบม้าซึ่งถูกจองจำอยู่ในคอกม้าถึงกลับถ่มน้ำลายรดหน้าและไม่ยอมพูดจาด้วยต่อมาเธอถูกนำตัวกลับมายังกรุงศรีอยุธยาท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวังออกหลวงสรศักดิ์ที่มีความพึงพอใจเธออยู่เป็นทุนเดิมต้องการได้เธอเป็นภรรยาน้อยแต่เธอไม่ยินยอม ทำให้ออกหลวงสรศักดิ์ไม่พอใจมากออกปากขู่ต่างๆนานาจนท้าวทองกีบม้าไม่สามารถทนอยู่ต่อไปได้จึงตัดสินใจลอบเดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยาโดยติดตามมากับนายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ร้อยโทเซนต์ มารี เพื่อมาอาศัยอยู่กับนายพลเตฟาซจ์ที่ป้อมบางกอกและขอร้องให้ช่วยส่งตัวเธอและลูก๒คนไปยังประเทศฝรั่งเศสแต่นายพลเตฟาช์จไม่ตกลงด้วยเพราะเห็นว่าจะเป็นปัญหาภายหลัง จึงส่งตัวท้าวทองกีบม้าให้แก่ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งท่านก็รับไว้ด้วยความเมตตากระนั้นเธอก็ยังต้องถูกคุมขังเป็นเวลานานถึง๒ปีหลังการปลดปล่อยเธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนดการทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวังทำให้ท้าวทองกีบม้าต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมประเภทต่างๆ ขึ้นมาใหม่ตลอดเวลาจากตำรับเดิมของชาติต่างๆโดยเฉพาะโปรตุเกส ซึ่งเป็น ชาติกำเนิดของเธอ ท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัสดุดิบพื้นถิ่นที่มีในประเทศสยามเข้ามาผสมผสานจนทำให้เกิดขนมที่มีรสชาติอร่อยถูกปากขึ้นมามากมายเมื่อจัดส่งเข้าไปในพระราชวังก็ได้รับความชื่นชมมากถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้นมีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวงเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวยมีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาถึง ๒,๐๐๐คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องชื่นชมมีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีเมตตาทำให้ท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดตำรับการปรุงขนมหวานแบบต่างๆให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของเธอจนเกิดความชำนาญและสตรีเหล่านี้เมื่อกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องยังบ้านเกิดของตนก็ได้นำตำรับขนมหวานไปเผยแพร่ต่ออีกทอดหนึ่งจึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ในพระราชวังแผ่ขยายออกสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆในที่สุดก็กลายเป็น ขนมพื้นบ้านของไทย